การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา แผลกดทับ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดี ปัญหาเรื่องแผลกดทับก็จะลดลง
แผลกดทับ คืออะไร
แผลกดทับคือการบาดเจ็บ หรือแผล ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เกิดจากการที่ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือแทบไม่เคลื่อนไหวเลย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นที่ป่วยเป็นเวลานาน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเหล่านี้ และหากรุนแรงอาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดถึงขั้นเสียชีวิตได้
แผลกดทับสามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ถูกกด ทับ หรือเสียดสีเป็นเวลานาน แผลกดทับส่วนใหญ่มักเกิดในบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หลังศีรษะและใบหู สะบัก ไหล่ หลังส่วนล่าง ก้น ข้อศอก ข้อเท้า เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงของผู้ป่วยที่สามารถเป็นแผลกดทับ
- กลุ่มผู้ป่วยติดเตียงจนขยับร่างกายไม่ได้เลย
- กลุ่มผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก อาจเกิดจากโรคหรืออุบัติเหตุ เช่น ผู้ป่วยแขนขาอ่อนแรง หรือผู้ป่วยกระดูกหักเคลื่อนไหวได้น้อยลง
- กลุ่มผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน
- กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำ หรือขาดสารอาหาร ทำให้ผิวหนังบางลง
- ผู้ป่วยที่ต้องใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เนื่องจากกลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ ความชื้นจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลกดทับได้
วิธีดูแลแผลกดทับอย่างถูกวิธี
การเปลี่ยนและจัดท่าทางของผู้ป่วย เนื่องจากสาเหตุหลักของแผลกดทับ คือ การกดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นเวลานาน ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับตัวได้เลยมีความเสี่ยงสูงสุดในการเกิดแผลกดทับ ดังนั้นในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย ผู้ดูแลควรเปลี่ยนท่าผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากเกินไป อาจนอนหงายสลับกับนอนตะแคงประมาณ 30-45 องศา และใช้หมอนใบเล็กหนุนปุ่มกระดูก ที่อาจกดทับอีก สำหรับผู้ป่วยที่ใช้วีลแชร์ควรเปลี่ยนท่าทุก ๆ 1 ชั่วโมง
การดูและทำความสะอาดบาดแผล แผลกดทับทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงต้องทำความสะอาดแผลเป็นประจำเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และแบคทีเรียบนแผล มีวิธีการทำความสะอาดแบ่งตามความรุนแรงของแผลกดทับ สำหรับแผลกดทับที่ไม่รุนแรงสามารถใช้น้ำเกลือเช็ดบริเวณแผล และรักษาความสะอาดของแผลได้ สำหรับแผลที่เป็นโพรงลึกต้องฉีดไซริงค์เติมน้ำเกลือล้างแผล 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าน้ำเกลือจะใส ประเมินการปิดแผลโดยพิจารณาจากลักษณะของบาดแผล รวมถึงพื้นผิวของบาดแผล เนื้อร้ายของบาดแผล และการติดเชื้อ เพื่อเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะสม หรือบางกรณีอาจต้องเปิดแผลทิ้งไว้ และขอแนะนำสำหรับผู้ที่มีแผลกดทับ แผลลึก แผลมีกลิ่นเหม็น หรือ แผลมีหนอง ควรเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล เพื่อรับการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง
การใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ การลดแรงกดทับบริเวณแผลกดทับจะช่วยให้แผลของผู้ป่วยหายเร็วขึ้น โดยสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยลดแรงกดทับ เช่น ที่นอนพิเศษ เตียงลม แผ่นโฟม เพื่อลดแรงเสียดทานและแรงกดทับ สามารถสอดหมอนระหว่างเข่า และขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการเสียดสี และกดทับระหว่างกระดูกโด่ง และอีกบริเวณที่ควรใช้หมอน หรือแผ่นรองเหนือพื้นเตียง คือ บริเวณส้นเท้า
“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก Hope Rehabilitation Phuket ศูนย์ฟื้นฟูและรักษาผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ครบวงจร โดยบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง”
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดหมาย ติดต่อ
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
Hope clinic physical therapy คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต
โทร : 080-268-8962 (TH) , 080-926-3265 (ENG)
LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)
Facebook pages :https://www.facebook.com/Hope.rehabilitaion.nursinghome
Instagram : https://www.instagram.com/hoperehabilitation.phuket
แผนที่ : 14/11 หมู่ที่ 9 ถ. เจ้าฟ้าตะวันออก ตำบล ฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83130