EN

การฟื้นฟูและออกกำลังกายโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน (dopamine) ทำให้โดพามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

มือชา

อาการโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันมีอาการแสดงหลักที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ ประกอบด้วย

  • อาการเคลื่อนไหวช้า
  • อาการสั่นขณะอยู่เฉย
  • อาการแข็งเกร็ง
  • การทรงตัวลำบาก
    เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา
  • หกล้มง่าย

อาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการทางด้านร่างกาย

  • อาการท้องผูกเรื้อรัง
  • อาการซึมเศร้า
  • วิตกกังวล
  • ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย
  • เหงื่อออกมาก
  • ท้องอืด ท้องผูก

วิธีการรักษา

  • การรักษาด้วยตัวเอง
  • ออกกำลังกายและฝึกตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ

กายภาพบำบัด

  • ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ฝึกการประสานสัมพันธ์ (coordination)
  • ฝึกการทรงตัว
  • ฝึกการเดิน
  • กระตุ้นการรับรู้
    การรักษาอื่น ๆ
    ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
    การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย