EN

ยืดง่ายๆ 3 ท่าแก้อาการมือชา

อาการมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy)

อาการมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ สามารถแบ่งออกเป็นระยะของอาการที่แตกต่างไป

  • ระยะแรก
    • มีอาการมือชาบางช่วง อาจรู้สึกยิบๆ ปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ
    • มีอาการมือชาตอนกลางคืน ช่วงเช้ามืด หรือช่วงตื่นนอน
    • มีอาการมือชาเฉพาะในขณะที่ใช้มือทำกิจกรรมบางชนิดๆ ซึ่งไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก
  • ระยะกลาง
    • อาการชามักเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ใช้มือทำกิจกรรมใดๆ
    • หยิบจับสิ่งของแล้วไม่มีแรง เนื่องจากความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยง
    • นอกจากอาการชา อาจจะมีอาการปวดร่วมด้วย ลักษณะเหมือนโดนไฟช๊อต ปวดลึกๆ ปวดบีบๆ ในบริเวณที่ชา
  • ระยะท้าย
    • มีอาการมือชาหรือปวดตลอดเวลา
    • มีกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เนื่องจากไม่มีเส้นประสาทไปเลี้ยง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะยากต่อการรักษามากขึ้น

แนวทางการรักษาอาการมือชา

วิธีการรักษาอาการมือชาจากการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับนั้น จำเป็นต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน

  • หากมีอาการในระยะแรกๆ ควรพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้มือซ้ำๆ หรือนานๆ ทานยาลดการอักเสบ
  • สวมอุปกรณ์ช่วยพยุงข้อ เพื่อให้เส้นประสาทได้พักการใช้งาน และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย
  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการชา หรือปวดบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจจะพิจารณารักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
  • พิจารณาผ่าตัด ในรายที่อาการยังไม่ดีขึ้น และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

การป้องกันและความเตรียมพร้อมก่อนเกิดอาการมือชา

    • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
    • ระหว่างการใช้งาน ในกรณีที่พิมพ์คอมพิวเตอร์ พยายามให้ข้อมืออยู่ในท่าตรง เพื่อไม่ให้ข้อมือต้องทำงานหนักขึ้น
    • วางตำแหน่งให้มือสูงกว่าข้อมือเล็กน้อย แขนควรวางอยู่ข้างลำตัว ในท่าที่สบายๆ ไม่เกร็ง
    • หากจำเป็นต้องใช้งานมือข้างใดข้างหนึ่งในการทำงาน ควรฝึกให้มืออีกข้างใช้งานแทนกันได้ เพื่อไม่ให้ข้อมือข้างใดข้างหนึ่งทำงานหนักเกินไป
    • การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง จะช่วยให้ข้อมืออยู่ในท่าทางที่ถูกต้องระดับหนึ่ง
    • จัดสรรเวลาการทำงาน เพื่อให้ข้อมือได้มีเวลาพัก
    • ดูแลสุขภาพทั่วไป ไม่ให้น้ำหนักตัวเกินพอดี เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจส่งผลต่ออาการมือชา เช่น เบาหวาน ข้ออักเสบ
    • ยืดเหยียด และออกกำลังกายข้อมือ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น

“หากคุณมีอาการมือชาบ่อยครั้ง ให้ Hope คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต คลินิกกายภาพบำบัดครบวงจร โดยบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ติดต่อ นัดหมาย
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
Hope clinic physical therapy คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต
     
           โทร : 080-268-8962 (TH) , 080-926-3265 (ENG)
           LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)
           แผนที่ : 14/11 หมู่ที่ 9 ถ. เจ้าฟ้าตะวันออก ตำบล ฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83130