กายภาพแก้มือชา แนวทางการรักษา มือชา ปลายนิ้วชา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท (Compressive Neuropathy) ทำให้เกิดการชา หรือเหน็บขึ้นที่ปลายขา นิ้วเท้า สาเหตุของอาการมือชาเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เกิดจากเส้นประสาทที่เดินทางไปยังมือต้องผ่านช่องแคบ ๆ บริเวณนี้ เส้นประสาทมีความเสี่ยงที่จะถูกกดทับ หรือบีบ จากเส้นประสาทที่อยู่ข้าง ๆ เช่น เอ็น หรือพังผืด
โดยการกดทับนั้นอาจเกิดจากการที่ต้องเคลื่อนไหว และใช้งานส่วนนั้นซ้ำ ๆ หรืออยู่ในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานาน กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนหนังสือ งานบ้าน การใช้คอมพิวเตอร์ การทำอาหาร การนวดขนมปัง การทำสวน ซึ่งระดับอาการชามือมีตั้งแต่ไม่รุนแรง ไม่รบกวนชีวิตเรามากนัก จนไปถึงมือตลอดเวลา นอกจากอาการชาแล้ว ยังพบได้บ่อยคืออาการปวดตุ๊บ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปวดจากเส้นประสาท (Neuropathic Pain)
มือชา กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มควรเฝ้าระวัง
กลุ่มคนที่ใช้แรงมือในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง หรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น
- กลุ่มแม่บ้านที่ใช้มือทำงานบ้านต่าง ๆ เป็นประจำ
- กลุ่มคนที่ต้องขับรถทางไกล หรือต้องขับรถเป็นเวลานาน
- การเล่นกีฬาบางชนิดที่ต้องใช้มือจับ เช่น เทนนิส แบดมินตัน
- กลุ่มคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ อาการชามือ ถือเป็นหนึ่งในอาการของออฟฟิศซินโดรม
อาการชาที่มือนั้นพบได้บ่อยพอที่จะแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) และอาการชาจากโรคทางกายอื่น ๆ
อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (โรคเส้นประสาทถูกกดทับ) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทหลักของมือถูกกดทับในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ทำให้บริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงเกิดอาการชา และปวด กลุ่มนี้จะมีอาการชามือข้างเดียวบ่อย ๆ เกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเส้นประสาทหลักของมือมีอยู่ 3 เส้น ได้แก่ เส้นประสาทมีเดียน, เส้นประสาทอัลนาร์, เส้นประสาทเรเดียล
อาการชาที่มือเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงด้านฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง
วิธีรักษาอาการมือชาจากการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน
- หากมีอาการในระยะแรก ควรระงับการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้มือซ้ำ ๆ หรือนาน ๆ กินยาต้านการอักเสบ
- ใส่เครื่องพยุงเส้นประสาท เพื่อพัก และทำกายภาพบำบัดด้วย
- หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการชาหรือปวดบ่อยจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจพิจารณาฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่
- พิจารณาการผ่าตัดในรายที่อาการไม่ดีขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก Hope Rehabilitation Phuket ศูนย์ฟื้นฟูและรักษาผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ครบวงจร โดยบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง”
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดหมาย ติดต่อ
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
Hope clinic physical therapy คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต
โทร : 080-268-8962 (TH) , 080-926-3265 (ENG)
LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)
Facebook pages :https://www.facebook.com/Hope.rehabilitaion.nursinghome
Instagram : https://www.instagram.com/hoperehabilitation.phuket
แผนที่ : 14/11 หมู่ที่ 9 ถ. เจ้าฟ้าตะวันออก ตำบล ฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83130