EN

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

 

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 
  • ร้อยละ 80% : สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน หรือตีบเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือด เช่น มีไขมัน หรือลิ่มเลือดมาอุดกั้น ทำให้หลอดเลือดตีบ

  • ร้อยละ 20% : หลอดเลือดสมองแตก

ทำให้มีเลือดออกในสมอง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่ ความดันโลหิตสูง

อาการของ Stroke

อาการของผู้ป่วยจะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่หลอดเลือดสมองเกิดการอุดตันหรือแตก ที่พบได้มีดังนี้

• แขนขาอ่อนแรง เป็นอัมพาตซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายหรือทั้งสองซีก

• พูดไม่ชัดหรือมีปัญหาในการพูด การสื่อสารหรือการทำความเข้าใจ

• รู้สึกชาที่ใบหน้าหรือมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าอย่างเฉียบพลัน อาจมีอาการปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท

• มีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือการเห็นภาพซ้อน

• เสียการทรงตัวหรือมีปัญหาในการเดิน เดินเซหรือเดินลำบาก มึนงง วิงเวียนศีรษะหรือมีภาวะบ้านหมุน

• ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) ที่มีอาการจะคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในข้างต้น แต่มักจะกลับมาปกติภายในเวลา 24 ชั่วโมง

สาเหตุของ Stroke

Stroke เกิดขึ้นจากหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จึงทำให้เซลล์สมองและเนื้อเยื่อเริ่มตายจากการขาดออกซิเจนแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่

Thrombotic Strokes เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปสู่สมอง มักเกิดในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวที่เกิดในช่วงสั้น ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมองตามมา

Embolic Strokes เกิดขึ้นเมื่อมีลิ่มเลือดที่บริเวณอื่นของร่างกายแล้วไหลไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง มักเกิดในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อย่างภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วหรือเคยได้รับการผ่าตัดหัวใจมาก่อน โดย Embolic Strokes อาจเกิดอาการขึ้นโดยไม่มีสัญญาณบอกให้ทราบล่วงหน้า

ทั้งนี้ ระบบไหลเวียนเลือดเป็นสาเหตุหลักของการเกิด Stroke ดังนั้น ความเสี่ยงในการอุดตันของหลอดเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นหากถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่อไปนี้

• ความดันโลหิตหรือคอเรสเตอรอลสูง ภาวะน้ำหนักตัวเกินผิดปกติ

• ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

• ภาวะเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

• การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

• ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว หรือมีภาวะหัวใจขาดเลือดมาก่อน

• โรคเบาหวาน

• ดื่มแอลกอฮอล์มากผิดปกติหรือใช้สารเสพติดบางชนิด เช่น โคเคนหรือเมตแอมเฟตามีน เป็นต้น

 

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก Hope Rehabilitation Phuket ศูนย์ฟื้นฟูและรักษาผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ครบวงจร โดยบุคลากรทางการแพทย์”
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ติดต่อ นัดหมาย
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
Hope clinic physical therapy คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต
     
           โทร : 080-268-8962 (TH) , 080-926-3265 (ENG)
           LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)
           แผนที่ : 14/11 หมู่ที่ 9 ถ. เจ้าฟ้าตะวันออก ตำบล ฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83130